ถ้าเป็นคนที่ใช้ WordPress ในการทำเว็บอยู่แล้วสามารถข้ามหน้านี้ไปได้เลยนะ เพราะแค่ติดตั้งปลั๊กอิน Yoast SEO เค้าก็จัดการให้ทุกอย่างหมดแล้ว แตกต่างจากเว็บที่เขียนใหม่หมดที่ต้องใส่ใจตรงส่วนนี้มากเป็นพิเศษ
เคนก็ไปนั่งควาน ๆ หามา แล้วก็เอาจากประสบการณ์ที่ทำมาเขียนให้อ่านครับ
Title
อันนี้เป็นส่วนหลักเลย ใครไม่ได้ตกแต่งส่วนนี้นี่คือพลาดมาก
Meta Tag
ในส่วนของเมต้าแท็คก็จะมีหลัก ๆ คือ
- description
- ฮั่นแน่!! อย่าคิดว่า description ไม่สำคัญนะ เพราะจากที่เคนลองทำระบบมาแล้วเวลาค้นหาใน Google แล้วไม่เจอเพราะว่า description เนี่ยแหละ เนื่องจากมีข้อมูลหน้า User เป็นพันหน้า แต่ Description กำหนดจากส่วนกลาง แล้วไม่มีคนเปลี่ยน มันเลยเหมือนกันหมด Google ก็เลยคิดว่าแม่งเหมือน ๆ กัน ซ้ำ ๆ กัน มันก็เลยไม่แสดงในผลการค้นหา
- ควรปรับแต่งส่วนนี้ให้ไม่เหมือนคนอื่น ๆ ครับ Google จะได้ไม่คิดว่ามันซ้ำกัน
- keywords
- language
- author
- robots
- viewport
<meta name="viewport" content="width=device-width, initial-scale=1"> <meta name="description" content="คำอธิบายเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์"> <meta name="keywords" content="คำหลักของหน้า"> <meta name="language" content="thai"> <meta name="author" content="ชื่อผู้เขียน"> <meta name="robots" content="บอก robots ว่าทำอะไรบ้าง">
Canonical
อันนี้จะเป็นส่วนที่บอก Google ว่าลิงค์หลักของอันนี้คืออะไร บางทีเว็บบางเว็บมีการใช้ querystring หรือค่าตัวแปรบางอย่างในการดึงข้อมูลขึ้นมาแสดง ซึ่ง Google จะไม่ค่อยเก็บครับ เราก็ต้องทำการบอกด้วย
อย่างของเคนจะเป็น domain.com/@username จะเป็นการเรียกของผู้ใช้นั้น ๆ ขึ้นมาแสดง แต่ Google ไม่ค่อยเก็บลิงค์ที่เป็น /@username ไปครับจะเก็บไปแต่ domain.com เสียมากกว่า
ก็เลยต้องกำหนดเพื่อชี้ชัดเข้าไปให้มันอีกนิด
<link rel="canonical" href="https://domain.com/@username">
Facebook Open Graph
ขาดได้อย่างไรในเมื่อเค้าแชร์กันใน Facebook เป็นหลัก ดูได้ที่ Developer Facebook เพิ่มเติม
- og:url
- og:type
- og:title
- og:description
- og:image
<meta property="og:url" content="https://domain.com/@username"> <meta property="og:type" content="website"/> <meta property="og:title" content="ไตเติ้ลเว็บไซต์"> <meta property="og:description" content="คำอธิบายเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์"> <meta property="og:image" content="ลิงค์ URL รูปภาพที่จะเอาไปแสดงใน Facebook ตอนแชร์">
** Sitemap **
เป็นตัวบอกว่าเว็บไซต์ของเรามี Url อะไรบ้าง
เคนเพิ่งรู้ความสำคัญของ Sitemap ก็ตอนที่ทำเว็บแบบ domain.com/@username เนี่ยแหละครับ เพราะว่า มันไม่มีลิงค์โดยตรงจากหน้าไหน ๆ ไปหาโปรไฟล์ของแต่ละคน ดังนั้นเมื่อ Google Bot เข้าหน้าแรกมามันก็คือจบตรงนั้นเลย
ผลลัพธ์จากการที่มันจบตรงนั้นก็คือ มันจะไม่เก็บดัชนี (Index) ไปนั่นเอง ดังนั้นการสร้าง Sitemap จึงสำคัญมาก ๆ ครับ
สรุป
อันนี้เป็นอันที่เคนสรุปจากประสบการณ์ที่เคนทำมาอย่างย่อ ๆ ง่าย ๆ อยากรู้ลึกกว่านี้ลองอ่าน คู่มือเริ่มต้น SEO จากทาง Google ที่เว็บนี้ครับ